สืบค้นข้อมูลตรงนี้

วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว

ประวัติความเป็นมา
                กรมป่าไม้เริ่มทำการสำรวจเบื้องต้นป่าภูวัว เมื่อ พ.ศ.2507 และพบว่าป่าแห่งนี้เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ที่สำคัญ สภาพป่ามีความอุดสมบูรณ์และมีสัตว์ป่าชุกชุม สมควรที่จะจัดตั้งเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ต่อมาในปี พ.ศ.2508 จึงได้จัดส่งเจ้าหน้าที่อีกคณะหนึ่งเข้าไปทำการสำรวจอย่างละเอียด และทำการรังวัดหมายขอบเขตเพื่อทำการประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าต่อไป แต่เนื่องจากสถานการณ์ไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ และพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่แทรกซึมของผู้ก่อการร้าย การดำเนินงานต่างๆจึงต้องหยุดชะงักลง จนถึงปี พ.ศ. 2517 เมื่อสถานการณ์ต่างๆ ภายในพื้นที่ป่าภูวัว คลี่คลายลง กรมป่าไม้จึงได้ดำเนินการต่อไปจนสามารถนำเรื่องเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและตราพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ป่าภูวัวให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว ในท้องที่ตำบลโคกก่อง อำเภอบึงกาฬ ตำบลโพหมากแข้ง อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 87 ลงวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2518
ข้อมูลด้านกายภาพ
                พื้นที่  :  116562  ไร่
ภูมิประเทศ :  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือสุดของภาคเกือบติดพรมแดนประเทศลาว มีอาณาเขต 2 ด้านขนานไปกับแม่น้ำโขง อยู่ห่างจากแนวชายแดนประมาณ 2 กิโลเมตร มีความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ 160 - 448 เมตร แบ่งเป็น 3 ตอน 1. บนหลังภูวัว มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชันทางทิศตะวันออก แล้วค่อยลาดไปทางทิศตะวันตกเนื้อที่ประมาณ 84 ตารางกิโลเมตร จุดสูงสุดคือ ภูวัวหลังถ้ำสูง ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเล 448 เมตร ลักษณะหินบนภูวัวโดยทั่วไปเป็นหินทราย 2. ตอนล่างรอบๆ บริเวณภูวัว เนื้อที่ประมาณ 102.5 ตารางกิโลเมตร สภาพเป็นป่าดิบแล้ง ผสมป่าเบญจพรรณ 3. ส่วนของตอนบึงโขงหลง เนื้อที่ประมาณ 10 ตารางกิโลเมตร เป็นบึงขนาดใหญ่ตามธรรมชาติอยู่ห่างจากภูวัวประมาณ 20 - 25 กิโลเมตร ทางด้านทิศใต้ของบึงเป็นพื้นน้ำโดยตลอด ส่วนทางทิศเหนือนอกจากมีหญ้าและพุ่มไม้แล้วยังมีเกาะอีก 4 เกาะ
ภูมิอากาศ  :  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัวแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ 1. ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม ฝนตกชุกทุกปี มีความชื้นเย็นสบาย ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีประมาณ 1,000 - 1,700 ลูกบาศก์มิลลิเมตร อุณหภูมิเฉลี่ย 25 องศาเซลเซียส 2. ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ อากาศหนาวเย็นมีหมอกปกคลุมโดยทั่วไปอุณหภูมิเฉลี่ย 20 องศาเซลเซียส 3. ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม อากาศแห้งแล้งมักเกิดไฟป่าเป็นประจำ อุณหภูมิเฉลี่ย 30 องศาเซลเซียส
ธรณีวิทยา :  สภาพดินพื้นล่างส่วนใหญ่เป็นดินทรายและดินลูกรัง ทางด้านน้ำตกชะแนนมีพื้นที่บางส่วนเป็นดินเหนียวปนดินร่วน พื้นที่หลังเขาส่วนใหญ่เป็นพื้นหินทรายและดินทราย สภาพการพังทลายปานกลาง ส่วนของหินบนหลังภูวัว ส่วนมากเป็นหินปูนมีลักษณะเป็นลานหิน
             
        

ข้อมูลด้านชีวภาพ
                ทรัพยากรป่าไม้ :   สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น มีส่วนน้อยที่เป็นทุ่งหญ้า และป่าไผ่กระจัดกระจายทั่วไป ป่าดงดิบมักพบขึ้นอยู่บริเวณริมลำธาร ถัดมาเป็นป่าโปร่งและทุ่งหญ้า พรรณไม้สำคัญที่พบในป่าดงดิบมีดังนี้ ไม้จำพวกไม้ยาง ตะเคียนทอง ตะเคียนหิน พยุง มะค่าโมง กะบาก ไม้ก่อ ฯลฯ ส่วนไม้พื้นล่างเป็นไม้จำพวกหวาย ปาล์ม ถัดจากป่าดงดิบเป็นป่าโปร่ง พรรณไม้สำคัญมี ไม้เหียง เต็ง รัง ไม้พื้นล่างเป็นไม้พุ่มและหญ้า ซึ่งพอจำแนกป่าภูวัวออกเป็น 2 เขตใหญ่ๆ คือ 1. ป่าภูวัวรอบนอก มีเนื้อที่ประมาณ 100 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 65,000 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นป่าผลัดใบชนิดป่าเต็งรัง ประมาณ 60% ผสมกับป่าดงดิบแล้งประมาณ 20% ที่เหลืออีก 20% เป็นทุ่งหญ้าและป่าเบญจพรรณ 2. ป่าบนหลังภูวัว พื้นที่บนหลังภูวัวส่วนใหญ่ประมาณ 60% เป็นป่าดงดิบแล้งผสมกับป่าดิบชื้น อีกประมาณ 40% เป็นสันเขาหิน ลานหิน ทุ่งหญ้า และป่าละเมาะ บริเวณภูวัวส่วนกลางเป็นป่าดงดิบชื้น มีไม้ยางขึ้นอยู่หนาแน่น ส่วนบนของภูวัว 30% เป็นป่าเต็งรัง และอีก 70% เป็นป่าดงดิบชื้น ตารางแสดงชนิดป่า และการใช้พื้นที่ ประเภทป่า / การใช้ที่ดิน เนื้อที่ (ไร่)   เปอร์เซ็นต์ ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง พื้นที่ปลูกป่า-โครงการปลูกป่าถาวร   
ทรัพยากรสัตว์ป่า : ในอดีตป่าภูวัวเคยมีสัตว์ป่าจำพวก เก้ง กวาง ช้างป่า เสือ เลียงผา กระทิง วัวแดง อยู่อ่างชุกชุมแต่ถูกชาวบ้านล่าจนเกือบจะสูญพันธุ์ บางชนิดก็สูญพันธุ์ไปแล้ว จากการสำรวจล่าสุด เมื่อต้นปี พ.ศ.2520 พบว่ายังมีสัตว์ป่าอีกหลายชนิดที่ยังหลงเหลืออยู่ ได้แก่ ช้างป่า ประมาณ 18 ตัว กระจง หมูป่า อีเห็น ลิง เก้ง นกชนิดต่างๆ ค้างคาว ไก่ป่า และไก่ฟ้า เป็นต้น สำหรับสัตว์ที่มีลักษณะเด่นในพื้นที่ได้แก่ ช้าง สัตว์ที่มีจำนวนมาก ได้แก่ นก แต่เนื่องจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัวมีพื้นที่ป่าดงดิบในเขตจำกัดประมาณ 40 ตารางกิโลเมตร สัตว์ป่าส่วนใหญ่จึงไม่สามารถเพิ่มขยายพันธุ์ได้มาก ทางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าจึงได้ดำเนินการปรับปรุงพื้นที่หลายแห่งให้เป็นที่หลบภัยและเป็นแหล่งอาหารของสัตว์ป่าต่อไป ตารางแสดงชนิดสัตว์ป่า สัตว์ป่า จำนวนชนิด        สกุล (จำนวน) นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก แมลง ปลา

                

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น