สืบค้นข้อมูลตรงนี้

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ตราประจำจังหวัดบึงกาฬ

จังหวัดบึงกาฬ
ตราประจำจังหวัดบึงกาฬ
ตราประจำจังหวัด
ภูทอกแหล่งพระธรรม ค่าล้ำยางพารา งามตาแก่งอาฮง บึงโขงหลงเพลินใจ น้ำตกใสเจ็ดสี ประเพณีแข่งเรือ เหนือสุดแดนอีสาน นมัสการหลวงพ่อใหญ่ ศูนย์รวมใจศาลสองนาง

แผนที่จังหวัดบึงกาฬ


แผนที่
ประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอนแผนที่ประเทศไทย จังหวัดบึงกาฬเน้นสีแดง

ภูทอก

ภูทอก
ภูทอก เป็นที่ตั้งของวัดเจติยาศรีวิหาร (วัดภูทอก) อยู่ในอาณาเขตบ้านคำแคน ตำบลนาสะแบง จ.บึงกาฬ โดยมีพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ เป็นผู้ก่อตั้ง ในภาษาอีสานแปลว่า ภูเขาที่โดดเดี่ยว ภูทอก มี 2 ลูก คือภูทอกใหญ่และภูทอกน้อยส่วนที่นักแสวงบุญและ นักท่องเที่ยวทั่วไป สามารถชมได้คือ ภูทอกน้อย ส่วนภูทอกใหญ่อยู่ห่างออกไป ยังไม่เปิดให้นักท่องเที่ยวชม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการเดินเท้าขึ้นสู่ยอดภูทอก จุดเด่นของภูทอกก็คือ สะพานไม้และบันไดขึ้นชมทัศนียภาพรอบ ๆ ภูทอก ใช้เพียงแรงงานคนสร้าง บรรไดเวียนไปมา รอบภูทอกแบบ 360 ซึ่งมีทั้งหมด 7 ชั้น ใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง 5 ปีเต็มจากชั้น 1-7 จะมีบันไดไม้ให้เดินแบบ ตรงทอดยาวจนถึงจุดสูงสุดของ ยอดภูทอก และตั้งแต่ชั้นที่ 3 เป็นต้นไปนักท่องเที่ยวสามารถเดินชม แบบสะพานเวียน รอบเขาซึ่งจะได้เห็น มุมมองที่แตกต่างไปเรื่อย ๆ บันไดที่ทอดขึ้น สู่ยอดภูทอกนี้เปรียบเสมือนเส้นทางธรรมที่น้อมนำ สัตบุรุษ ให้พ้นโลกแห่งโลกียะ สู่โลกแห่ง โลกุตระหรือโลกแห่ง การหลุดพ้นด้วย ความเพียรพยายามและมุ่งมั่น ภูทอก ปิดไม่ให้นักท่องเที่ยว ขึ้นในวันที่ 10 -16  เมษายน ของทุกปี 
ในแต่ละย่างก้าวบันไดขึ้นภูทอกแบ่งออกเป็น 7 ชั้น แตกต่างกันดังนี้
ชั้นที่ 1-2เป็นบันไดสู่ ชั้นที่ 3 ซึ่งเริ่มเป็นสะพานเวียนรอบเขา สภาพเป็นป่าเขามืดครึ้ม มีโขดหินลานหิน สุดทางชั้นที่ 3 มีทางแยก สองทาง ทางซ้ายมือ เป็นทางลัดไปสู่ชั้นที่ 5 ได้เลย ซึ่งเป็นทางชันมาก ผ่านซอกหินที่มีลักษณะเหมือนอุโมงค์ ทางขวามือ เป็นทางขึ้นสู่ชั้นที่ 4
ชั้นที่ 4 เป็นสะพานลอยไต่เวียนรอบเขา มองไปเบื้องล่างจะเห็นเนินเขาเตี้ยๆ สลับกัน เรียกว่า "ดงชมพู" ทิศตะวันออกจดกับภูลังกา เขตอำเภอเซกา ซึ่งมีสภาพเป็นป่าดิบ มีแม่น้ำลำธารหลายสายไหลผ่าน มีสัตว์ป่ามากมายอาศัยอยู่ โดยเฉพาะมีฝูงกา มาอาศัย อยู่มาก จึงเรียกกันว่า "ภูรังกา" แล้วเพี้ยนมาเป็น "ภูลังกา" ในที่สุด ส่วนบนชั้นที่ 4 นี้ จะเป็นที่พักของแม่ชีรอบชั้นมีระยะทาง ประมาณ 400 เมตร มีที่พักผ่อนระหว่างทางเป็นระยะ ๆ
ชั้นที่ 5 หรือชั้นกลาง ถือว่าเป็นชั้นที่สำคัญที่สุด จะมีศาลาขนาดใหญ่ พระพุทธรูป กุฏิพระ และเป็นที่เก็บสังขารของพระอาจารย์ จวนด้วย พื้นที่สะอาดกว้างขวาง ดูแล้วร่มเย็นมาก เหมาะสำหรับการนั่งสวดมนต์ปฏิบัติธรรมสำหรับนักแสวงบุญ หรือผู้ที่ใฝ่หาความสงบ ตลอดตามช่องทางเดินจะมีถ้ำอยู่หลายจุด เช่น ถ้ำเหล็กไหล ถ้ำแก้ว ถ้ำฤาษี ฯลฯ มีที่ให้นั่งพักสำหรับความอ่อนล้า ระหว่างทางเดิน เป็นระยะ ถ้าเดินมาทางด้านเหนือจะเห็นสะพานหินธรรมชาติทอดสู่พุทธวิหารอันเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ มีลักษณะแปลกและ น่าอัศจรรย์ที่สุดคล้าย ๆ กับพระธาตุอินทร์แขวนที่พม่า คือ เป็นหินแยกตัวออกมาจากหินก้อนใหญ่ แต่ไม่ตกลงมา เพราะตั้งอยู่อย่าง ได้ฉากกับพื้นโลกพอดี ปัจจุบันมีสะพานไม้เชื่อมต่อระหว่างสะพานหินกับพุทธวิหาร มองออกไปจะ เห็นแนวของภูทอกใหญ่อย่าง ชัดเจน และมีบันไดเวียนขึ้นสู่ชั้นที่ 6 ซึ่งเป็นชั้นสุดท้ายของบันไดเวียนรอบเขา
ชั้นที่ 6 จะเป็นจุดชมวิวิที่สวยที่สุด ตลอดทางเดินจะเป็นหน้าผายื่นออกมาทำให้ในบางครั้งเวลาเดินต้องเบี่ยงตัวออกมาเล็กน้อย โดยแต่ละจุดก็จะมีชื่อของหน้าผาที่แตกต่างกัน เช่น ผาเทพนิมิตร ผาหัวช้าง ผาเทพสถิต เป็นต้น ในช่วงฤดูหนาวจะ มีทะเลหมอก ลอยอยู่รอบ ๆ ยอดเขา ทำให้เหมือนอยู่บนสวรรค์ จากชั้นที่ 6 สู่ชั้นที่ 7 เป็นสะพานไม้เวียนรอบเขายาว 400 เมตร เกาะติดอยู่ริม หน้าผา สูงชันดูน่าหวาดเสียวอันตราย มีความยาว 400 เมตร สำหรับสิ่งศักดิ์สิทธิ์และน่าชมที่สุดของชั้นนี้คือ ปากทางเข้าเมืองพญานาค ซึ่งอยู่หลังพระปางนาคปรก มีจุดให้สังเกตคือ มีรอยสีขาวขูดติดกับหินปูน ซึ่งชาวบ้านถือว่าเป็นรอยถลอกที่เกิดจากท้องพญานาคสัมผัส กับหิน และมีบ่อน้ำเล็ก ๆ มีน้ำขังอยู่เกือบตลอดปี

ชั้นที่ 7จะมีบันไดไม้พาดขึ้นมา เมื่อเดินขึ้นบันไดผ่านมาแล้วจะเจอทางแยก 2 ทางเพื่อขึ้นไปบนดาดฟ้าชั้น 7 ทางแรกเป็นทางชัน ต้องเกาะ เกี่ยวกิ่งไม้และรากไม้เดินลำบาก แถมยังมีป้ายบอกให้ "ระวังงู" ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีอยู่มากบนยอดภูแห่งนี้ด้วย ควรใช้อีกทาง หนึ่งซึ่งเป็น ทางอ้อมต้อง เดินเวียนไปทางขวามือ แต่ก็จะมาบรรจบกันด้านบนชั้น 7 หรือดาดฟ้า ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าไม่ทึบธรรมดา มีเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่

วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

วัดอาฮงศิลาวาส

วัดอาฮงศิลาวาส


วัดอาฮงศิลาวาส ตั้งอยู่บนเนื้อที่ประมาณ 80 ไร่ บ้านอาฮง ตำบลไคสี อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย ห่างจากตัวอำเภอบึงกาฬ 21 กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัดหนองคาย 115 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ คือ ทิศเหนือ ติดกับ แม่น้ำโขงบริเวณแก่งอาฮง
        ทิศใต้ ติดกับ ถนนมิตรภาพเส้นทาง หนองคาย- นครพนม
        ทิศตะวันออก ติดกับ ห้วยอีเต่าและเขตบ้านไคสี
        ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านอาฮง
วัดอาฮงศิลาวาส ตั้งอยู่ในจุด ภูมิศาสตร์ที่เรียกได้ว่ามีความโดดเด่นหลายประการ ทั้งยังมี เรื่องเล่าขานเป็นตำนานเกี่ยวพันกับพระพุทธศาสนา คือ เมื่อ ครั้งพุทธกาล หรือ ประมาณ 2,500 กว่าปีล่วงมา สมเด็จพระ บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จจำพรรษา เหล่าเทพเทวาได้พากันเนรมิตบันไดเงิน บันไดทอง เพื่อรองรับเบื้องพระบาทบทมาลย์ในการเสด็จกลับยังโลกมนุษย์ และด้วยพระมหากรุณาธิคุณอย่างที่สุด พระองค์ ได้หยุดอยู่ท่ามกลางพร้อมผายพระกรทั้งสองข้าง เปิดให้โลกทั้งสาม คือ สวรรค์ มนุษย์ นรก ได้มองเห็นกัน ส่วนเหล่าพญานาคนั้นได้พากันสำแดงฤทธิ์พ่น ไฟถวายเป็นพุทธบูชา เพื่อต้อนรับการกลับมาขององค์พระพุทธชินสีห์ เรื่องนี้จึงเป็นที่มาของ บั้งไฟพญานาค

นอกจากนี้ จุดที่ลึกที่สุดของแม่น้ำโขงตลอดทั้งสาย ซึ่งมีความยาววัดได้ ประมาณ 4,590 กม. ก็คือ บริเวณแก่งอาฮงนี้เอง คนเฒ่าคนแก่เคยวัดความลึกโดยใช้เชือกผูกกับก้อนหินหย่อนลงไป วัดได้ 98 วา ในหน้าแล้งคือช่วงเดือนมีนาคม เมษายน วัดได้ 40 – 50 วา เนื่องจากแก่งอาฮงเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่และเป็นแก่งหินกว้างจากฝั่งไทยถึงฝั่งลาวประมาณร้อยกว่าเมตร จึงยากที่จะสังเกตให้รู้ได้ ดังนั้นหากท่านใดอยากจะทราบว่าบริเวณใดเป็นจุดที่ลึกที่สุด หรือเรียกกันว่า สะดือแม่น้ำโขงนั้นให้สังเกตได้บริเวณหน้าพระอุโบสถ ลักษณะจะเป็นคุ้งน้ำที่มีกระแสไหลวน กินบริเวณกว้าง เห็นได้ชัดในฤดูน้ำหลาก เพราะน้ำจะไหลเชี่ยววนจนเป็นหลุมรูปกรวย และถ้ามีเศษไม้ ต้นไม้ หรือวัตถุใดๆ ลอยมาก็จะไหลวนอยู่บริเวณนี้ประมาณ 20-30 นาที จึงค่อยหลุดไปบางครั้งติดค้างอยู่ริมตลิ่งก็มี กล่าวกันว่าถ้ามีคนตกน้ำตกตายเหนือแก่งอาฮงขึ้นไป ไม่ว่าที่ใด หากหาศพไม่พบ ก็จะหาได้ที่แก่งอาฮง เชื่อกันว่าศพจะไหลไม่พ้นแก่งอาฮง เพราะตกลงไปในจุดที่เป็นคุ้งน้ำไหลวนและเป็นจุดที่ลึกที่สุดของแม่น้ำโขงนั่นเอง ทั้งยังเป็นที่อยู่อาศัยของปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในโลก นั่นก็คือ ปลาบึก ในตอนดึกของฤดูน้ำหลาก จะได้ยินเสียงจากแม่น้ำโขงประหนึ่งว่าคนลงเล่นน้ำ เสียงดังตูมตามประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง ก็จะเงียบหายไป ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า เสียงนั้นคือ ปลาบึกผสมพันธุ์กัน ด้วยในบริเวณนั้นมีความลึก และปลาบึกกินตระไคร้น้ำเป็นอาหาร ใต้น้ำบริเวณแก่งอาฮงนั้นมีโขดหินมากมายและมีถ้ำใหญ่ ระบบนิเวศวิทยาเรียกได้ว่ามีความสมบูรณ์จึงเป็นแหล่งที่มีปลาบึกชุกชุมอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย
ปัจจุบันวัดอาฮงศิลาวาส เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดหนองคาย ที่มีผู้แวะเวียนเข้ามาพักผ่อนหย่อนใจทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ภายใต้ร่มบวร นิเวศน์แห่งนี้จึงเป็นที่พักกายพิงใจ และเป็นอุทยานการศึกษา ที่ให้ความรู้ อันจะเป็นมรดกตกทอดไปสู่ชนคนรุ่นหลัง ทว่า สิ่งสำคัญเหนืออื่นใดนั่นก็คือการได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ให้รุ่งเรืองวัฒนาตลอดกาลนาน